เมนู

คุณเคยกรนเสียงดังจนคนข้างๆ นอนไม่หลับไหม แล้วเคยไหมที่นอนเท่าไหร่ก็รู้สึกไม่เต็มอิ่มสักที ไม่สดชื่นและง่วงนอนตลอดทั้งวัน หลายคนมีอาการเหล่านี้แต่ไม่ทันสังเกตหรือรู้ตัวว่าตัวเองกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพ คงคิดเพียงว่าเป็นเพราะเราเหนื่อยหรืออ่อนล้าจากการทำงานเท่านั้น แต่จริงๆแล้วอาจไม่ใช่ก็ได้ เพราะถ้าคุณได้ลองไปตรวจร่างกาย อาจจะได้รู้ว่าคุณกำลังมีภาวะ Sleep Apnea หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นก็เป็นได้

โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นโรคของกลุ่มคนที่มีความผิดปกติในการหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งอาการของความผิดปกตินี้คือจะมีหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือมีค่า AHI มากกว่า 5 ขึ้นไป (เพิ่มเติมด้านล่าง) และส่วนใหญ่ภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว จนกว่าจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น กรนเสียงดังมากๆ ปวดหัวทุกเช้า เป็นต้น การหยุดหายใจขณะหลับส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาอีกมากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน การดื้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วนลงพุง ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น และการหยุดหายใจขณะหลับเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ถ้ารักษาไม่ทันเวลาและไม่ถูกวิธี ก็อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

เราจะรู้ว่าเราหยุดหายใจขณะหลับมากน้อยแค่ไหนจากการทำ Sleep Test และค่าที่ได้ เรียกว่า AHI (Apnea-hypopnea index) ซึ่งเป็นค่าการหยุดหายใจขณะหลับ ที่จะวัดว่าเราเป็นโรค Sleep Apnea อยู่หรือไม่

ปัจจุบันมีผู้ที่เป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย ซึ่งจะพบมากที่สุดในผู้สูงอายุ  ในผู้ชาย 4% ในผู้หญิงวัยทำงาน  2% ในเด็กก่อนวัยเรียนและประถม 1%  โดยส่วนใหญ่เกิดกับคนที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน 

สาเหตุของโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) มี 2 ประเภท

  1. เกิดจากมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ (Obstructive Sleep Apnea ; OSA) เป็นสาเหตุที่พบมากที่สุดในกลุ่มคนโรคนี้ ซึ่งมีได้หลายสาเหตุ ทั้งต่อมทอนซิล ต่อมอดีนอยด์โต มีเนื้องอกหรือซีสต์ในบริเวณโพรงจมูก หรือมาจากความอ้วนที่มีเนื้อเยื่อผนังคอหนาจนทางเดินหายใจแคบลง ส่งผลให้เกิดการอุดกั้นของทางเดินหายใจตอนบน  เช่น จมูก ปาก และลำคอ เป็นต้น เมื่อมีการอุดกั้นทางเดินหายใจ เราก็จะพยายามหายใจเข้าให้มากขึ้น เพื่อให้อากาศผ่านเข้าไปให้ได้จนทำให้เกิดเสียงกรน แต่โรคนี้เป็นภาวะที่ช่องทางเดินหายใจโดนอุดกั้นมากจนอากาศไม่สามารถผ่านไปได้ จนทำให้หายใจผิดจังหวะ หยุดหายใจเป็นพักๆ หรือหยุดหายใจไปนานจนทำให้อวัยวะต่างๆในร่างกายขาดออกซิเจน และมันไปกระตุ้นสมองให้ตื่นตัวจนไม่สามารถนอนหลับต่อเนื่องได้ทั้งคืน 
  1. เกิดจากความผิดปกติของสมอง (Central Sleep Apnea ; CSA) เป็นประเภทที่พบได้น้อยกว่าประเภทแรกมาก มีสาเหตุมาจากโรคของสมองส่วนกลาง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเนื้องอก โรคมะเร็งสมอง หรือจากผลข้างเคียงจากยานอนหลับที่มีฤทธิ์ไปกดสมองส่วนกลาง ทำให้สมองไม่สามารถสั่งงานได้ปกติ จึงเกิดภาวะการหายใจผิดปกติ 

กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรค Sleep Apnea

อาการของโรค Sleep Apnea ลองเช็คว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?

หากไม่รีบรักษาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง 

การรักษาโรค Sleep Apnea มีอยู่ 4 แนวทางด้วยกัน โดยเรียงตามระดับความรุนแรงจากน้อยไปมาก ดังนี้

  1. ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต

เป็นการรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการรุนแรง ซึ่งทำได้ง่ายๆโดยการเปลี่ยนท่านอน เช่น หลีกเลี่ยงการนอนหงาย ให้เปลี่ยนเป็นนอนตะแคง หรือนอนในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน และลองเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ออกกำลังกายมากขึ้น และเลี่ยงการใช้ยายนอนหลับ ก็จะสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้

  1.  การใช้อุปกรณ์ทางทันตกรรมช่องปาก

สามารถใช้อุปกรณ์ oral appliance ช่วยปรับให้กรามล่างและลิ้นอยู่ในลักษณะที่ไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ การรักษานี้เหมาะกับผู้ที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง 

  1. การรักษาด้วยเครื่อง CPAP (continuous positive airway pressure)

CPAP เป็นเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ซึ่งช่วยขยายทางเดินหายใจให้หายใจสะดวกขึ้นในขณะนอนหลับ ทำให้สามารถหายใจเอาอากาศเข้าได้มากขึ้นและยังสามารถป้องกันการนอนกรนได้อีกด้วย ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้จะได้ผลดีและเป็นที่นิยมมากที่สุด

  1. การผ่าตัด 

หากมีอาการรุนแรง รักษามาทุกทางแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจะวินิจฉัยว่าให้ทำการผ่าตัด โดยผ่าตัดในส่วนที่เป็นทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ซึ่งการผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน เช่น ผ่าตัดเพดานอ่อน กระดูกกราม ผนังกั้นจมูกคด หรือเจาะคอเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น โดยการผ่าตัดแต่ละจุดนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

อ้างอิง:

เช็คราคาและสั่งซื้ออะไหล่บน Shopee

ไปยังเว็บไซต์ SHOPEE

เช็คราคาและสั่งซื้ออะไหล่บน LAZADA

ไปยังเว็บไซต์ LAZADA

เช็คราคาและสั่งซื้ออะไหล่กับ
แอดมิน

แอดไลน์
สงวนลิขสิทธิ์ ©2023 โดย บริษัท สู่ฝัน เมดิคอล จำกัด