ถ้าเปรียบเทียบเทคโนโลยีในอดีตมาจนถึงยุคปัจจุบัน เราจะเห็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีด้านต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะด้านการสื่อสาร เพราะคุณภาพการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและอุปกรณ์การสื่อสารนั้นมีแพร่หลายมากขึ้น และมันสามารถอำนวยความสะดวกได้อย่างน่าเหลื่อเชื่อ รวมถึงในด้านการแพทย์ที่จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีต่างๆ ในการตรวจโรค ซึ่งก็ได้มีการพัฒนาเครื่องมือมาโดยตลอด ทั้งการใช้อวัยวะเทียม หุ่นยนต์ผ่าตัด การเก็บข้อมูลจากแอพพลิเคชั่น และอื่นๆ อีกมากมาย วันนี้เราจะนำเสนออีกความก้าวหน้าหนึ่ง ที่เทคโนโลยีการสื่อสารจะช่วยอำนวยความสะดวกและเหมาะกับคนในยุคปัจจุบันมากๆ นั่นคือ Telemedicine หรือ แพทย์ทางไกล นั่นเอง
แล้วแพทย์ทางไกลคืออะไร? หมายถึงหมอมาตรวจถึงที่บ้านเลยหรือเปล่า?
แพทย์ทางไกล (Telemedicine) คือ การตรวจหรือพูดคุยปรึกษาปัญหาสุขภาพระหว่างผู้ป่วยกับบุคลากรทางการแพทย์ โดยตรวจผ่าน Video Conference หรือ Video Call จากอุปการณ์การสื่อสารต่างๆ และสามารถพูดคุยโต้ตอบแบบ real time ได้ เหมือนกับการเปิดกล้องคุยกันทางโทรศัพท์กับเพื่อน ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวกสบาย และไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลีนิกอีกด้วย
Telemedicine ถูกสร้างขึ้นเพื่อลดช่องว่างในการรักษา ให้มีการรักษาเข้าถึงได้ง่ายขึ้น และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่ไม่สะดวกในการเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาล และสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกรอคิวนานๆ เพื่อจะพบแพทย์ เหมาะกับผู้ที่กำลังรักษาโรคเรื้อรัง อาการทางจิตเวช หรือผู้ที่อาการไม่หนัก โดยสามารถรายงานอาการเป็นระยะ หรือปรึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงโรงพยาบาลก็ได้ ส่วนการฟังผลตรวจก็สามารถรับฟังผลจากที่บ้านโดยการ Video Call ได้เช่นกัน
ด้วยสถานการณ์ Covid-19 ในปัจจุบัน เราจึงควรใช้ชีวิตแบบ New Normal เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อ การใช้ Telemedicine จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์อย่างมาก
Telemedicine เพิ่งมีตอนช่วง Covid-19 เหรอ?
จริงๆ มีมานานมากแล้ว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960
การใช้ระบบ Telemedicine เริ่มใช้ในสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ. 1960 โดยได้พัฒนามาพร้อมๆ กับระบบการสื่อสารโทรคมนาคม แต่ด้วยความที่สมัยนั้นเทคโนโลยีต่างๆ นั้นมีค่าใช้จ่ายสูงและประสิทธิภาพยังไม่เพียงพอที่จะใช้งานได้สะดวก จึงไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1990 ระบบ Telemedicine ได้มีบทบาทต่อการแพทย์อย่างมาก และจากนั้นก็ได้เปลี่ยนจากยุค analog เป็นยุค digital ที่อุปกรณ์เทคโนโลยีด้านการสื่อสารมีราคาถูกลง ทำให้เข้าถึงระบบ Telemedicine ได้สะดวกขึ้น
ในปัจจุบัน หลายๆประเทศทั่วโลกได้ใช้ระบบ Telemedicine มากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการเติบโตของระบบนี้ถึง 19.2% (จากปี พ.ศ. 2562-2563) และในประเทศเยอรมนีที่ Telemedicine ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย ในประเทศจีนก็มีผู้ใช้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์รายใหม่ถึง 900% ในไม่กี่เดือน และในไต้หวันก็ได้พัฒนาระบบการรักษาออนไลน์นี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น มี platform ที่จัดการสุขภาพผู้ป่วยได้ดีจนเป็นที่นิยมมากขึ้น ส่วนในประเทศไทยนั้นมีเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดของ Covid-19 โดยกระทรวงสาธารณะสุขก็มีการทำโครงการที่สนับสนุนระแบบ Telemedicine และในช่วงสองเดือนที่เปิดให้บริการก็มีคนลงทะเบียนประมาณ 4,000 ราย นอกจากนั้นในช่องทาง Line คลีนิกออนไลน์ และ Application ต่างๆ ก็ยังมีผู้สนใจรับบริการมากขึ้นเรื่อยๆ
สำหรับผู้ที่สนใจ สู่ฝันได้รวบรวม Application ต่างๆ มาให้ ดังนี้
แต่การใช้ระบบ Telemedicine ก็มีข้อจำกัดอยู่ นั่นคือ ในการตรวจโรคทั่วไป แพทย์จะให้คำแนะนำได้เพียงเบื้องต้นเท่านั้น ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการรักษา การใช้ Telemedicine เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังที่เคยตรวจกับแพทย์ที่โรงพยาบาลแล้วต้องการการติดตามผล และโรคสุขภาพจิตที่เพียงพูดคุยอาการกันก็พอจะวินิจฉัยได้ ส่วนโรคทั่วไปนั้นจะเป็นการปรึกษาเรื่องสุขภาพ บรรเทาอาการ ปรึกษาเรื่องยา หรือปรึกษาว่าควรจะรักษาต่อไปด้วยตนเองอย่างไร แต่ถ้าตรวจอาการแล้วพบว่าน่าสงสัยหรือรุนแรง แพทย์ก็สามารถส่งต่อให้โรงพยาบาลต่อไปได้เช่นกัน
สรุป
Telemedicine เป็นทางเลือกใหม่ในการตรวจร่างกายที่น่าสนใจและสะดวกสบายมาก แม้ว่ามันจะยังแทนการไปตรวจกับแพทย์ที่โรงพยาบาลไม่ได้ 100% แต่ก็ช่วยบรรเทาอาการได้มากทีเดียว เพียงแค่คุณมีอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์การสื่อสาร ไม่ว่าจะอยู่ไกลหรือเดินทางลำบากแค่ไหน ก็สามารถเข้าถึงการตรวจรักษาจากแพทย์ได้เช่นกันครับ ยิ่งในปัจจุบันมีการระบาดของ Covid-19 เช่นนี้ การไม่ไปแออัดกันที่โรงพยาบาลก็เป็นสิ่งที่ควรทำ และถึงแม้สถานการณ์ Covid-19 จะจบลง เราเชื่อว่าการใช้ระบบ Telemedicine ในประเทศไทยและทั่วโลกต้องมีเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน
อ้างอิง:
CPAP หรือ Continuous Positive Airway Pressure เป็นเครื่องที่ใช้รักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Anea) ซึ่งอาการของโรคนี้ก็มีหลายระดับ และเครื่อง CPAP ก็มีหลายประเภท ดังนี้
เหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้การรักษาด้วยเครื่อง CPAP
ถ้าคุณได้ทำการตรวจ Sleep Test แล้วผลออกมาว่าค่า AHI หรือค่าการหยุดหายใจขณะหลับมีมากกว่า 5 ครั้ง/ชั่วโมง นั่นแปลว่าคุณมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หากคุณไม่ได้มีอาการรุนแรงถึงขั้นต้องผ่าตัด โดยทั่วไปแล้วแพทย์ก็จะให้คุณรักษาด้วยเครื่อง CPAP ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีและเห็นผลไว เพราะหลังจากที่คุณได้ลองใช้ CPAP เพียงครั้งเดียว คุณจะรู้สึกได้เลยว่าอาการดีขึ้น รู้สึกสดชื่นและไม่ปวดหัวหลังตื่นนอน นี่จึงเป็นเหตุผลที่ผู้ป่วยโรคหยุดหายใจขณะหลับส่วนมากเลือกใช้ CPAP
หลักการทำงานคร่าวๆ ของเครื่อง CPAP
เครื่อง CPAP จะดูดอากาศจากภายนอก และสร้างแรงดันอากาศออกมา โดยเป่าแรงดันอากาศนั้นเข้าไปผ่านทางท่อลมของเครื่อง แล้วส่งต่อไปยังหน้ากากที่ครอบจมูกไว้ จากนั้นแรงดันนั้นก็จะถูกส่งต่อเข้าทางเดินหายใจของเรา เพื่อไปทำการเป่าหรือถ่างให้ทางเดินหายใจของเราที่ตีบแคบได้ขยายกว้างขึ้น ทำให้หายใจได้สะดวก และช่วยรักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับได้
CPAP มี 3 ประเภท มาดูกันว่าประเภทไหนที่เหมาะกับคุณที่สุด
CPAP ทั้ง 3 ประเภทที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นมีการทำงาน และข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน การเลือกใช้ CPAP ประเภทไหนนั้นขึ้นอยู่กับงบและความสะดวกของแต่ละคน หากไม่มั่นใจ แนะนำให้ทดลองใช้แต่ละแบบประกอบการตัดสินใจก่อนการเลือกซื้อ
อ้างอิง:
คุณเคยกรนเสียงดังจนคนข้างๆ นอนไม่หลับไหม แล้วเคยไหมที่นอนเท่าไหร่ก็รู้สึกไม่เต็มอิ่มสักที ไม่สดชื่นและง่วงนอนตลอดทั้งวัน หลายคนมีอาการเหล่านี้แต่ไม่ทันสังเกตหรือรู้ตัวว่าตัวเองกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพ คงคิดเพียงว่าเป็นเพราะเราเหนื่อยหรืออ่อนล้าจากการทำงานเท่านั้น แต่จริงๆแล้วอาจไม่ใช่ก็ได้ เพราะถ้าคุณได้ลองไปตรวจร่างกาย อาจจะได้รู้ว่าคุณกำลังมีภาวะ Sleep Apnea หรือโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้นก็เป็นได้
โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) เป็นโรคของกลุ่มคนที่มีความผิดปกติในการหายใจขณะนอนหลับ ซึ่งอาการของความผิดปกตินี้คือจะมีหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือมีค่า AHI มากกว่า 5 ขึ้นไป (เพิ่มเติมด้านล่าง) และส่วนใหญ่ภาวะเหล่านี้จะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว จนกว่าจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น กรนเสียงดังมากๆ ปวดหัวทุกเช้า เป็นต้น การหยุดหายใจขณะหลับส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมาอีกมากมาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน การดื้อต่ออินซูลิน ภาวะอ้วนลงพุง ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง และหัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น และการหยุดหายใจขณะหลับเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ถ้ารักษาไม่ทันเวลาและไม่ถูกวิธี ก็อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เราจะรู้ว่าเราหยุดหายใจขณะหลับมากน้อยแค่ไหนจากการทำ Sleep Test และค่าที่ได้ เรียกว่า AHI (Apnea-hypopnea index) ซึ่งเป็นค่าการหยุดหายใจขณะหลับ ที่จะวัดว่าเราเป็นโรค Sleep Apnea อยู่หรือไม่
ปัจจุบันมีผู้ที่เป็นโรคนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทย ซึ่งจะพบมากที่สุดในผู้สูงอายุ ในผู้ชาย 4% ในผู้หญิงวัยทำงาน 2% ในเด็กก่อนวัยเรียนและประถม 1% โดยส่วนใหญ่เกิดกับคนที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน
สาเหตุของโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnea) มี 2 ประเภท
กลุ่มคนที่เสี่ยงเป็นโรค Sleep Apnea
อาการของโรค Sleep Apnea ลองเช็คว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่?
หากไม่รีบรักษาจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
การรักษาโรค Sleep Apnea มีอยู่ 4 แนวทางด้วยกัน โดยเรียงตามระดับความรุนแรงจากน้อยไปมาก ดังนี้
เป็นการรักษาเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ยังไม่มีอาการรุนแรง ซึ่งทำได้ง่ายๆโดยการเปลี่ยนท่านอน เช่น หลีกเลี่ยงการนอนหงาย ให้เปลี่ยนเป็นนอนตะแคง หรือนอนในท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน และลองเปลี่ยนการใช้ชีวิต เช่น ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ลดการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ ออกกำลังกายมากขึ้น และเลี่ยงการใช้ยายนอนหลับ ก็จะสามารถทำให้อาการดีขึ้นได้
สามารถใช้อุปกรณ์ oral appliance ช่วยปรับให้กรามล่างและลิ้นอยู่ในลักษณะที่ไม่ปิดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ การรักษานี้เหมาะกับผู้ที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง
CPAP เป็นเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก ซึ่งช่วยขยายทางเดินหายใจให้หายใจสะดวกขึ้นในขณะนอนหลับ ทำให้สามารถหายใจเอาอากาศเข้าได้มากขึ้นและยังสามารถป้องกันการนอนกรนได้อีกด้วย ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้จะได้ผลดีและเป็นที่นิยมมากที่สุด
หากมีอาการรุนแรง รักษามาทุกทางแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจจะวินิจฉัยว่าให้ทำการผ่าตัด โดยผ่าตัดในส่วนที่เป็นทางเดินหายใจที่ตีบแคบ ซึ่งการผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละคน เช่น ผ่าตัดเพดานอ่อน กระดูกกราม ผนังกั้นจมูกคด หรือเจาะคอเพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น โดยการผ่าตัดแต่ละจุดนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
อ้างอิง:
การนอนกรนเป็นปัญหาใหญ่ของแทบจะทุกบ้าน หลายๆ คนอาจจะไปหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเพื่อหาทางแก้ และได้เห็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์แก้นอนกรนต่างๆ มากมายบนอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นเหล่าอุปกรณ์เล็กจิ๋วที่ใช้เสียบจมูก สายรัดคอ หรือสมุนไพรต่างๆ แต่คุณจะรู้หรือไม่ว่าหลายๆ โฆษณาช่วยเชื่อเหล่านั้น ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาการนอนกรนได้จริง
การมีเสียงกรนนั้น เกิดจากกล้ามเนื้อ ในช่องปากมีการคลายตัว และหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะที่เรานอนหลับ ทำให้ช่องทางเดินหายใจมีภาวะตีบแคบลง หายใจเข้าออกลำบากและไม่สะดวก จึงทำให้เราต้องหายใจเข้าอย่างแรง จึงทำให้เกิดการกระพือของเสียง ซึ่งก็คือเสียงกรนนั่นเอง
2.1 การใช้ยาสมุนไพร มีสมุนไพรหลายประเภทที่ถูกกล่าวถึงว่ามีฤทธิ์ที่สามารถทำให้หายกรนได้ แต่จริงๆแล้วสมุนไพรเหล่านี้จะช่วยเพียงบรรเทาอาการได้เล็กน้อยเท่านั้น อาจจะทำให้ลำคอชุ่มชื่นขึ้น หรือช่วยละลายเสมหะ แต่จะไม่สามารถทำให้ช่องทางเดินหายใจกว้างขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการนอนกรนเสียงดัง
2.2 การใช้สายรัดคาง หลายงานวิจัยออกมายืนยันแล้วว่า สายรัดคางไม่ได้ช่วยเรื่องการนอนกรนเลยซักนิด แถมยังอาจจะทำให้อาการหนักขึ้นไปอีก เนื่องจากเป็นการไปบีบรัดขากรรไกร เพราะฉะนั้นหากเห็นโฆษณาบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต่างๆ อย่าไปหลงเชื่อเป็นอันขาด
2.3 การใช้อุปกรณ์เสียบหรือหนีบจมูกเล็กๆ สิ่งนี้เคยฮิตมากในอินเทอร์เน็ต และทุกวันนี้ก็ยังมีขายบน Shopee กับ Lazada ทั้งๆ ที่กรมอาหารและยา ได้ออกมาเตือนแล้วว่าอันตราย และไม่สามารถแก้อาการนอนกรนได้จริง แถมส่วนใหญ่ยังถูกผลิตจากโรงงานในจีนที่ไม่ได้รับมาตรฐานอีกด้วย จึงอันตรายมากๆ หากผู้บริโภคซื้อมาใช้เอง
การไปปรึกษาคุณหมอ หรือไปตรวจที่คลีนิกตรวจการนอน (Sleep Lap) จะทำให้คุณรู้สาเหตุของการนอนกรนของคุณอย่างแท้จริง ไม่ต้องเสียเวลา เสียเงินไปกับการแก้ปัญหาที่ไม่ตรงจุด ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และปล่อยทิ้งไว้นานๆ อาการอาจจะหนักมากขึ้นไปอีก
รวมอยู่ด้วย แต่ถึงแม้จะไม่มีอันตราย แต่มันก็เป็นปัญหาและมีผลกระทบต่อคนรอบข้างและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะกับคู่นอนหรือคู่สามีภรรยา ถ้ากรนเสียงดังมากและยาวนานหลายปี ก็อาจเป็นปัญหาไปจนถึงการหย่าร้างได้เช่นกัน
หยุดหายใจอยู่ด้วย การนอนกรนประเภทนี้นอกจากจะรบกวนคนรอบข้างในขณะหลับแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตของผู้กรนเองด้วยเช่นกัน เพราะมันทำให้นอนหลับไม่สนิท จะมีการสะดุ้งตื่นเป็นพักๆ ส่งผลให้นอนหลับพักผ่อนได้ไม่เต็มที่และง่วงนอนบ่อยในตอนกลางวัน ซึ่งมีผลกระทบต่อการใช้สมาธิในการทำงาน การเรียน การขับรถ หรือการใช้ชีวิตทั่วไป อาจทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ และหากปล่อยไว้นานๆ การกรนประเภทนี้ก็ยังทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ เป็นต้น
เราจะรู้ก็ต่อเมื่อเราได้ทำการตรวจ Sleep Test เพื่อวัดค่า AHI (Apnea-hypopnea index) ซึ่งเป็นค่าการหยุดหายใจขณะหลับ ที่จะวัดว่าเราเป็นโรค Sleep Apnea (โรคหยุดหายใจขณะหลับ) หรือไม่
เมื่อทำ Sleep Test จนได้ผลออกมาแล้วว่าอาการของคุณอยู่ในระดับไหน คุณก็จะสามารถรักษาหรือแก้ไขได้ถูกต้อง ปลอดภัย ไม่ต้องเสียเงิน เสียสุขภาพ และเสียเวลาเปล่าอีกด้วย
กรณีแบบอาการนอนกรนธรรมดา
กรณีแบบอาการนอนกรนอันตราย
จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะเห็นว่าอาการนอนกรนไม่ใช่เรื่องตลกเลย การนอนกรนถือเป็นภัยใกล้ตัวที่คุณไม่ควรมองข้ามและไม่ควรซื้ออุปกรณ์มาใช้เอง อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาเพียงเพราะคิดว่ามันง่าย สะดวก ราคาถูก แต่ควรคำนึงถึงการรักษาที่ตรงจุดและถูกวิธี โดยการทำ Sleep Test ก่อน เพื่อดูว่าเรามีอาการอยู่ในระดับไหน เพราะถ้าอาการรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แล้วยังปล่อยไว้นาน ไม่รีบรักษาให้ถูกต้อง อาจส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้ เราจึงสนับสนุนให้ทุกคนที่นอนกรนได้ไปตรวจ เพื่อตัวคุณเองและคนที่คุณรัก
อ้างอิง: