เชื่อว่าทุกคนคงเคยได้ยินเสียงกรนกันมาหลากหลายรูปแบบแบบ ทั้งเสียงเบา เสียงดัง เสียงแหลม บางทีได้ยินเสียงกรนดังมากจนรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเลยก็มี แต่เคยสงสัยไหมว่า เสียงกรนดังเกิดจากอะไร ทำไมทุกคนถึงมีเสียงกรนที่ไม่เหมือนกัน แล้วเสียงกรนแต่ละแบบนั้นมันส่งผลอย่างไร อันตรายหรือไม่ วันนี้สู่ฝันจะมาเล่าให้ฟัง
เสียงกรนมันเกิดจากอะไร?
เสียงกรนเกิดจากกล้ามเนื้อ ในช่องทางเดินหายใจส่วนบนมีการคลายตัว และหย่อนลงมาปิดกั้นทางเดินหายใจในขณะที่เรานอนหลับ ทำให้ช่องทางเดินหายใจมีภาวะตีบแคบลง เมื่อหายใจเข้าออก ลมก็จะไม่ได้ผ่านช่องทางเดินหายใจไปได้ง่ายๆ ลมจะผ่านอย่างลำบาก ไม่สะดวกและมีการเสียดสี จึงทำให้เราต้องหายใจเข้าอย่างแรง จึงทำให้เกิดการสั่นสะเทือน จนเกิดเป็นเสียงกรนนั่นเอง
แล้วการกรนเสียงดัง เป็นเพราะอะไร?
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าเสียงกรนเกิดจากเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อในช่องทางเดินหายใจส่วนบนตีบและแคบลง ซึ่งเป็นอวัยวะต่างๆ ทางกายภาพ ตั้งแต่จมูก คอหอย โคนลิ้น หรือกล่องเสียงนั้น และปัจจัยร่วมต่างๆ เช่น ไขมันในช่องคอหนา ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ มีอายุมากขึ้น น้ำหนักตัวมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ทางช่องเดินหายใจตีบแคบลง และยิ่งช่องทางลมนั้นแคบมากๆ ก็ยิ่งทำให้อากาศที่ผ่านเข้าออกนั้นเสียดสีกับเนื้อเยื่อรอบข้างมากขึ้น จนเกิดการสั่นสะเทือนหรือกระพือจนเกิดเสียงกรนที่ดังได้
เสียงกรนที่ต่างกัน เกิดจากตำแหน่งของอวัยวะที่ต่างกันออกไปมาเสียดสีกัน ซึ่งแต่ละคนก็มีอวัยวะในช่องคอที่หย่อนคล้อยหรือโครงสร้างอวัยวะที่ไม่เหมือนกันอยู่แล้ว ทำให้เกิดเสียงกรนที่ต่างกัน เช่น เกิดการสั่นสะเทือนที่เพดานอ่อนหรือลิ้นไก่ เสียงกรนก็จะดังอยู่ในลำคอ แต่ถ้าเกิดการสั่นสะเทือนที่เนื้อเยื่อหลังโพรงจมูก เสียงกรนก็จะค่อนข้างดังและแหลมขึ้นจมูก เป็นต้น
กรนดังอันตรายหรือไม่ ?
เสียงกรนที่ดังบ่งบอกว่ามีสิ่งมาขวางกั้นช่องทางเดินหายใจ ทำให้หายใจไม่สะดวก และนั่นแปลว่าออกซิเจนก็จะไปเลี้ยงสมองน้อยลง ดังนั้นบางคนที่เป็นโรคที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน อย่างเช่น โรคหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดหัวใจ ก็จะเป็นอันตรายได้
นอกจากเสียงกรนดังที่อาจจะเป็นอันตราย ยังมีการหายใจเฮือกที่อันตรายมากอีกด้วย กล่าวคือ ในขณะที่นอนหลับแล้วมีการหยุดหายใจ จากนั้นก็หายใจเฮือกขึ้นมา หรือสำลักน้ำลาย มีอาการผวา สะดุ้งตื่นขณะหลับ ถ้าคุณมีอาการเช่นนี้จะเป็นอันตรายมาก เพราะนี่คืออาการของภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งคุณควรสังเกตอาการให้ดีว่ามันเกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน และมีอาการข้างเคียงที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด เช่น
หากต้องการเช็คระดับความอันตรายของการนอนกรนเสียงดังของคุณ สู่ฝันแนะนำให้ทำการตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) ที่โรงพยาบาลหรือคลินิกใกล้บ้าน เพื่อหาแนวทางรักษาอย่างถูกต้องได้ทันท่วงที
อ้างอิง: